สาระน่ารู้เรื่อง Website Wordpress SEO

อย่าเพิ่งจ้างทำเว็บ ถ้าคุณยังไม่อ่านบทความนี้

Tags :

จะหาคนรับทำเว็บดี ๆ ได้อย่างไร

จริงอยู่ที่การทำเว็บไซต์สมัยนี้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การที่จะให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ StartUp มานั่งเรียนรู้ ก็คงเป็นเรื่องเสียเวลาอยู่ ถ้าไม่เคยทำ ไม่มีพื้นฐานมาเลย ผมจะมาแนะนำว่าเราจะหาคนทำเว็บให้เรายังไงดี และมีข้อควรพิจารณาอย่างไรบ้าง

startup-photos
จ้างทำเว็บให้ง่าย เราต้องมีเป้าหมาย หรือข้อมูลของเราให้ชัดเจนก่อน

สำหรับคนทำงานออกแบบ งานดีไซน์แล้ว Portfolio เป็นเหมือนสมุดพกบอกเกรดเลยล่ะ เพราะเป็นการบอกว่าทำงานอะไร หน้าตาเป็นอย่างไร สวย ถูกใจเราคนจ้างงานไหม ไหน ๆ จะจ่ายเงินทั้งที ก็ขอให้ได้งานที่สวยงามถูกใจ

นอกจากจะต้องมี Portfolio ทำเว็บแล้ว ก็ควรจะต้องสำรวจเงินในกระเป๋าเราสักนิดว่า มีทุนในการทุ่มลงไปกับเวบตรงนี้ไหม และเราจะทำให้เว็บไซต์ที่กำลังจะสร้างเกิดรายได้ หรือเป้นช่องทางในการประชาสัมพันธ์เพื่อหารายได้เข้าร้านค้า หรือบริษัท องค์กรอย่างไรบ้าง

และที่สำคัญเลยคือ เราในฐานะคนจ้างต้องจ่ายให้กับค่าอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ที่พบก็คือ

  1. ค่าโดเมนเนม โฮสติ้ง
  2. ค่าธีมที่ต้องซื้อ และค่าปรับแต่งธีมให้เข้ากับรูปแบบที่นำเสนอ
  3. ค่าออกแบบโลโก้
  4. ค่าไอเดียในการออกแบบหน้าเว็บเพื่อให้เลือก โดยกำหนดไม่เกิน 3 ครั้งในการเลือกแบบ หรือแก้ไข
  5. ค่ามัดจำในการทำงานส่วนใหญ่อยู่ที่ 30-50% ของราคาจ้างงานทั้งหมด
  6. ค่าดูแลรักษาเว็บไซต์หลังจากพัฒนาเสร็จสิ้น
  7. ค่าการตลาดโดยให้โปรโมทเว็บไซต์ให้ เช่นลงโฆษณาออนไลน์ผ่าน Google Adwords, Google AdSense, Facebook Ads.

โดยการทำสัญญาก่อนทำเว็บไซต์นั้นก็ควรจะระบุให้ชัดเจนไปเลยครับ ว่าพัฒนาด้วยระบบอะไรอย่างไร ให้พอเป็นการยืนยันว่ามีระบบทุก ๆ อย่างอยู่ในราคาที่เราต้องจ่ายแล้วนะ และเมื่อจ่ายเงินไปแล้ว คุณจะได้ข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมด และรหัสผ่านที่ผู้พัฒนาสร้างไว้ และในวันส่งมอบงานครั้งสุดท้าย ก็ควรมีการอบรมการใช้งานให้ด้วยครับ ถ้าเว็บของคุณเป็นระบบจัดการเนื้อหาหรือ CMS

Responsive website เว็บไซต์ที่สามารถดูได้ทุกอุปกรณ์ความกว้างของหน้าจอ

ถ้าพูดถึงงานเว็บไซต์สมัยนี้แล้วล่ะก็ ถ้าไม่เป็น Responsive หรือ Mobile Ready คงเรียกได้ว่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำกันเลยทีเดียว เพราะสมัยนี้ไม่ใช่ว่าใคร ๆ ก็มีเว็บไซต์ที่รองรับมือถือ หรือปรับเว็บไซต์ให้รองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่กัน แต่เพราะ Google เจ้าแห่งระบบค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ เขาเปลี่ยนการให้คะแนนเว็บไซต์แล้วล่ะครับ เว็บไซต์ไหนที่สร้างมาให้รองรับมือถือ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ดูเว็บได้ เว็บนั้นก็จะได้คะแนนมากหน่อย โอกาสค้นหาเจอเป็นอันดับต้น ๆ ก็มีโอกาสมากขึ้นครับ

คุณสามารถนำเว็บไซต์ของคุณไปตรวจสอบการรองรับมือถือได้ที่นี่ครับ : Google Mobile Friendly Test

ไม่ว่าเว็บไซต์คุณจะทำจากระบบไหน หรือภาษาใดก็ตาม การมี Sitemap ก็เหมือนมีแบบแปลนเวลาสร้างบ้านนั่นแหละครับ ทำให้เรารู้ว่าจะมีห้องไหน อยู่ตรงไหนบ้าง มีการเดินในบ้านอย่างไร เช่นเดียวกับเว็บไซต์ ทำให้เรารู้ว่าเราจะมีหน้าอะไรบ้าง หน้าไหนทำหน้าที่อย่างไร และมีกี่ชั้น การสร้างเว็บไซต์ที่ดี ตามหลักที่วิจัยกันมา ไม่ควรให้เว็บไซต์มีหน้าที่ต้องการเข้าถึง โดยคลิกเลือกได้ไม่เกินสามชั้น ถ้าลึกกว่านั้นคนที่เช้าเว็บ แทนที่จะเข้าจะคิดว่า พวกเขาไม่พบสิ่งที่ต้องการ และออกจากเว็บไปในที่สุดครับ

sitemap เป็นแผนผังเว็บเพื่อให้เช้าใจโครงสร้างของเว็บที่เราจะทำ
sitemap เป็นแผนผังเว็บเพื่อให้เช้าใจโครงสร้างของเว็บที่เราจะทำ

ไม่ว่าเว็บไซต์คุณจะทำออกแบบได้สวยงาม เลิศหรู อลังการเพียงใด แต่ถ้าวันนึงนักพัฒนาเกิดหนีหายไป หรือปิดบริษัทไป คุณจะอัพเดทเนื้อหาของเว็บไซต์คุณได้อย่างไรครับ ในเมื่อเว็บไซต์เมื่อมีคนเข้ามาหาข้อมูลแล้วอยู่ ๆ วันนึง เว็บเกิดไม่มีความเคลื่อนไหวอีกเลย ก็คงจะไม่ดีใช่ไหมครับ

ดังนั้นถ้าเว็บไซต์คุณสามารถเข้าไป อัพเดทเองได้ก็คงจะเป็นการดีไม่น้อยเลยใช่ไหมครับ

ระบบหลังบ้านของ WordPress ที่สามารถให้ผู็ใช้งานแต่ละคนเข้าไปเพิ่มเนื้อหาเองได้
ระบบหลังบ้านของ WordPress ที่สามารถให้ผู็ใช้งานแต่ละคนเข้าไปเพิ่มเนื้อหาเองได้

“แล้วจะทำได้ไหม ไม่มีความรู้เรื่องเว็บเลย”

สำหรับคำถามนี้ ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นระบบ CMS ก็วางใจได้เลยครับว่าคุณมีระบบให้เข้าไปอัพเดทเนื้อหาแน่นอน และระบบการอัพเดทเนื้อหาพวกนี้ ก็เหมือน Microsoft Word เสียด้วยสิครับ แค่คุณพิมพ์ ๆ ข้อความ ใส่รูป ก็ได้หน้าตาที่ต้องการแล้ว แต่อาจจะไม่เลิศหรูเหมือนนักพัฒนาตัวจริงทำ ถ้าไม่ได้อัพเดทเยอะมากมาย ก็ดีกว่าเว็บไซต์ไม่เคลื่อนไหวเลยจริงไหมครับ

แนะนำแหล่งรวมคนทำเว็บ
mennstudio.com

สงสัยสอบถามเพิ่มเติม หรือติดต่อเรียนทำเว็บด้วย Wordpress กับเราได้ที่ :

LINE ID

@webwithwp

Facebook

@webwithwp

Instagram

@webwithwp

Youtube

@webwithwp

แชร์บทความไปยัง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram

More
articles

Index
Scroll to Top