สร้าง Post เก็บข้อมูลด้วย Custom post type Ui และ Advance Custom Field

สร้างโพสพิเศษขึ้นมาเก็บข้อมูลด้วย Custom Post Type Ui กัน

ความต่างของปลั๊กอิน 2 ตัวนี้สรุปง่าย ๆ ดังนี้ครับ CPT Ui เราจะไว้ใช้สร้าง Post เป็นเมนูพิเศษขึ้นมาในระบบหลังบ้าน Dashboard แถบดำ ๆ ของเรากัน และสามารถสร้าง Category เพื่อจัดกลุ่ม Post ของเรากี่กลุ่มก็ได้ ส่วน Advance Custom Field ใช้ร่วมกัน ด้วยการสร้างข้อมูลย่อยพิเศษใน Custom Post ที่สร้างขึ้นมาครับ เช่น เราสร้าง CPT UI = Property ดังนั้น Category ของ Property อาจจะเป็น = Home, Townhome, Condominium ฯลฯ

และใน Custom Field เราจะสร้าง Field ข้อมูลพิเศษขึ้นมาเก็บว่า Property มีรายละเอียดอะไรบ้างเช่น จำนวนห้องนอน จำนวนห้องน้ำ จำนวนชั้น จำนวนที่จอดรถ ฯลฯ แล้วแต่เรากำหนดขึ้นมาเพื่อนำไปแสดงผลอีกทีหนึ่งครับ

และเราสามารถประยุกต์การใช้สองปลั๊กอินนี้กับข้อมูลใด ๆ ก็ได้ถ้าเราเข้าใจมันดี

ปลั๊กอิน Custom Post Type Ui สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี
ปลั๊กอิน Custom Post Type Ui สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี

เริ่มสร้าง Custom Post Type กันดีกว่า

ถ้าอยากมีข้อมูลพิเศษ​และ Category พิเศษแยกออกมาเฉพาะข้อมูลนี้ ให้ติดตั้งปลั๊กอินตัวนี้เลย Custom Post type Ui เราจะสามารถสร้าง post ขึ้นมาใหม่ได้อีกตามที่เราต้องการ ในภาพด้านล่างผมสร้าง Custom Post Type ชื่อ PortFolio ขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูล รวมผลงานการทำ portfolio ครับ

สร้าง Custom Post Type ต้องเลือกอะไรบ้าง

ปลั๊กอินตัวนี้จะสามารถสร้าง Post พิเศษขึ้นมาเก็บข้อมูลได้ ดังนั้นใครที่เรียนกับผมจะเข้าใจดีว่า Post จะต้องมี Category มาด้วย หรือทางเทคนิคเรียกว่า taxonomy แปลว่า เมื่อสร้าง post ได้ เราก็สามารถสร้าง Category ขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นผมทดลองและรวมรายการการตั้งค่า Custom Post Type ที่จำเป็นมาให้ดังนี้ครับ

หลังจากสร้าง Post Type เรียบร้อย ก็ถึงการตั้งค่า ให้เราเลือกดังนี้ครับ

1. Has Archive หมายถึง ให้แสดงผลแบบรวม Post จาก Category ไหม เลือก เป็น True

CPT UI ตรงหัวข้อการตั้งค่า เลือก has archive เป็น True
CPT UI ตรงหัวข้อการตั้งค่า เลือก has archive เป็น True

2. Hierarchical หมายถึง ให้ Post type นี้แสดง path เป็นลำดับชั้นได้ไหม Category เป็น child ของ parent ใด ๆ ให้เลือก เป็น True

CPT UI ตรงหัวข้อการตั้งค่า เลือก Hierarchical เป็น True
CPT UI ตรงหัวข้อการตั้งค่า เลือก Hierarchical เป็น True

สร้าง Category ให้กับ post ของเราต่อกัน

หลังจากนั้นให้เราสร้าง Category ของ Post Type นี้ด้วย หัวข้อถัดไปคือ add/edit taxonomies ครับ ในส่วนของ Category หรือ ระบบเรียกว่า Taxonomies ให้เราตั้งค่าดังนี้ครับ

  • Has Archive หมายถึง ให้แสดงผลแบบรวม Post จาก Category ไหม เลือก เป็น True
  • Rewrite Hierarchical หมายถึง ให้แสดงผลแบบรวม Post จาก Category ไหม เลือก เป็น True ข้อนี้มีผลกับ SEO นะครับ ถ้าข้อมูลเราอยู่ใน Child Category หรือ หมวดรอง ก็ควรแสดง URL เป็น domain/parent-category/postname ด้วย
  • Show in quick/ Bulk Edit หมายถึงให้แสดงการแก้ไข แบบหลาย ๆ ข้อมูลได้ไหม ให้เลือกเป็น True
  • Show Admin Column หมายถึง แสดงคอลัมน์ Category ของ Post ด้วยหรือไม่ ให้เเลือกเป็น True

มาสร้าง Custom Field กันต่อนะครับ

สร้างข้อมูลย่อยใน custom post ของเราด้วย ACF : Advance Custom Field
สร้างข้อมูลย่อยใน custom post ของเราด้วย ACF : Advance Custom Field คลิกที่รุปดาวน์โหลดปลั๊กอินได้เลย ฟรีครับ

ปลั๊กอินตัวนี้ใช้สำหรับสร้างข้อมูลย่อยในโพสของเราทำงานต่อจาก CPT Ui นะครับ ตามที่ได้อธิบายมาตั้งแต่ย่อหน้าแรกให้เห็นภาพกันง่าย ๆ เวลาลงปลั๊กอินตัวนี้เรียบร้อยแล้ว เราจะได้เมนูใหม่ในหัวข้อ Custom Field

ได้เวลาสร้าง Custom Fields กัน

ถ้าเราได้สร้าง Custom Post แล้วจากหัวข้อก่อน มาคราวนี้ เราก็จะสามารถสร้าง custom field ได้ ด้วยการเลือก หัวข้อ Location ได้เลยครับ ว่าจะให้ Custom Field นี้ผูกกับ Post Type ใด ถ้าสร้าง Custom Post ว่า Portfolio ก็ผูก Custom Field ตรง is equal to Portfolio ครับ

จากนั้นเราก็สร้าง Field ในหัวข้อด้านบนที่ Order นั่นเอง

About the author